บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาการศึกษา

ปัญหาการศึกษา : O-NET
(Education Problem)
*สุเทพ ปาลสาร
......................................................................................................................................................................................

ครั้งนี้ฉุกคิดไม่ได้ ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้ติดตามข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต ลงข่าวกันทุกวัน ภาพของการศึกษาทุกวันนี้ “ เกิดอะไรขึ้น ” จึงอยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฐานะครูชนบท ...ข้อความที่ยกมานี้ส่วนมากแล้วเป็นข้อความของนักวิชาการ เสียส่วนมาก...และภาพของนักวิชาการเหล่านี้ เป็นภาพของคนเมือง ไม่ได้ลงลึก ไม่เข้าใจบริบทที่แท้จริง จึงอาจจะวิพากษ์วิจารณ์ ไปต่างๆ นานา ..อาจจะมีส่วนถูกบ้าง และอาจจะคลาดเคลื่อนบ้าง...หรืออาจจะถูกทั้งหมด..ก็สุดแล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณา ครูชนบทอย่างเราเท่านั้นจะรู้และเป็นผู้ตัดสิน จริง ๆ แล้ว คืออะไร จึงอยากสะท้อนแนวคิดเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้....บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดนอกจาก...การศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เท่านั้น
ปัญหาการศึกษาพูดมานานเป็นสิบปี โดยเฉพาะผลการสอบระดับชาติ และจะพูดต่อไปอีกยาวนานนับสิบสิบปี ดังคำกล่าวที่ยกมา คือ “ปฏิรูปการศึกษา” ใครว่าปฏิรูปการศึกษาจะมีรอบสองและรอบสาม...... การประเมินจากภายนอกใครคิดว่าจะมีรอบหนึ่ง รอบสองและรอบสาม....การสอบ O-NET กี่ครั้ง..ก็กี่ครั้ง จะกี่ครั้งหรือกี่รอบแล้วเกิดอะไรขึ้น ภาพสะท้อนที่ชัดเจนนอกจาก “คุณภาพที่ตกต่ำ อย่างต่อเนื่อง 3 ปี ” จนนักวิชาการบางคนเสนอให้ยุบ สมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) และ สทศ. (สำนักทดสอบแห่งชาติ) ดังเช่น สมพงษ์ จิตระดับ (2554) ที่กล่าวว่า “ เกินกว่าคำว่า “น่าตกใจ” เด็กไทยสอบตกทั้งประเทศ..คะแนนต้อยต่ำสุดๆ...สาเหตุมาจากอะไรบ้าง ออกข้อสอบยากมาก เหมือนกับข้อสอบแข่งขันโอลิมปิค...ครูทำวิทยฐานะไม่สนใจเด็ก และเด็กไม่ตั้งใจสอบเพราะไม่มีผลทำให้สอบตก...และสุดท้าย ดีที่สุดของการแก้ปัญหา สมพงษ์ จิตระดับ กล่าวว่า “ ให้ยุบ สทศ.และสมศ. ไปเถอะ..รำคาญ” ส่วน ชินวรณ์ บุญเกียรติ (2554) มองว่า ปัญหาคุณภาพ การสอบ O-NET ลดลงเรื่อย ๆ ตลอดช่วงเวลา 3 ปี คือ “ ครูยังสอนแบบเดิมๆ ไม่ปรับวิธีสอน การสอนยังเน้นท่องจำ ไม่ได้เน้นการคิดวิเคราะห์ ” นอกจากนั้น สมเกียรติ ชอบผล (2554) กล่าวว่า ปัญหาที่เด็กทำข้อสอบไม่ได้ เพราะว่า วิธีการสอนในโรงเรียนอาจจะไม่สอดคล้องกับ กับข้อสอบโอเน็ต” ชินภัทร ภูมิรัตน กล่าวว่า “โอเน็ตปีหน้าถ้าตกต่ำอีก จะต้องมีผู้รับผิดชอบทุกระดับ ตั้งแต่ ศธ-สพป-สพม-ผอ.รร.และครูผู้สอน” และยังกล่าวว่า “ปัญหาการสอบตกต่ำ เพราะว่า เด็กไม่คุ้นเคยรูปแบบของข้อสอบที่ต้องเป็นแบบสัมพันธ์กัน “ ข้อสอบบางข้อมีความลำเอียงเชิงวัฒนธรรม ” บางคำถามเป็นคำถามสำหรับเด็กฐานะเศรษฐกิจดีหรือเด็กในเมืองตอบได้ แต่เด็กชนบทหรือต่างจังหวัดไม่รู้และตอบไม่ได้ นอกจากนั้น ชินภัทร ภูมิรัตน กล่าวว่า “ ปีหน้า จะนำผลการสอบโอเน็ต มาใช้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ม. 1 และ ม.4 ด้วย ” ศ.นพ.ประเวศ วะสี (2554) ราษฎรอาวุโส กล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษารอบสองว่า เรื่องสำคัญที่สุดคือการปฏิรูปการผลิตครูใหม่ เพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพ การสอนจึงจะมีคุณภาพ สัมพันธ์ พันธ์พฤกษ์ (2554) กล่าวว่า “สทศ.ไม่ปลื้ม! คะแนน O-NET ม.6 "คณิต-อังกฤษ" ตกรูด” นานาปัญหาทัศนะ แต่ความเป็นจริงแล้ว ปัญหาที่แท้จริง ที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบที่เป็นไปได้แทบทั้งสิ้น มุมมองของผู้เขียนที่เพิ่มเติม มองว่า ปัญหาคุณภาพ เกิดจาก การขาดการเสริมแรงภายใน ขาดการสร้างความตระหนักและที่สำคัญสาเหตุที่แท้จริง คือ “ นโยบายที่ไม่ชัดเจนของฝ่ายบริหาร ไม่ผสานเข้าใจปัญหา นำพาระบบอุปถัมภ์ การสร้างความเป็นธรรมมีน้อย ปล่อยปะละเลยคุณภาพ เน้นผลประโยชน์ โทษลูกน้อง ปกป้องคนไม่ดี ไม่มีระบบการจัดการ จัดงบประมาณตามใจตนเอง ”
โดยสรุป ปัญหาคุณภาพการศึกษา คงไม่สามารถกล่าวโทษใครคนใดคนหนึ่งได้ คุณภาพเด็กหนึ่งคนหรือเด็กหนึ่งร้อยคน เริ่มจาก ครอบครัว โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่ สพฐ.และ กระทรวงศึกษาธิการ และที่สำคัญ เพียงการสอบเท่านั้นคงไม่สามารถตัดสินคุณภาพได้อย่างเพียงพอ การสอบที่มีลักษณะ “คนสอบไม่ได้สอน คนสอนไม่ได้สอบ” บางครั้งอาจจะตัดสินคุณภาพยังไม่ได้ คุณภาพ อยากให้มองครบทุกมิติ คุณภาพผู้เรียนของเรา คือ ดี เก่ง และมีความสุข ต่างหากหละ เด็กส่วนมากดีแล้วเป็นผู้มีคุณธรรม ตามมาตรฐานที่ 1 สมศ.(2553) เขามีความสุขแล้ว มาตรฐานที่ 3 แต่เขาอาจจะยังไม่เก่ง ตามมาตรฐานที่ 5 ดังนั้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างหากหละคงต้องร่วมมือกัน และให้กำลังใจกัน ยกระดับร่วมกัน ดังที่ว่า “ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน และร่วมกันรับผิดชอบ” ไงหละครับ


แหล่งอ้างอิง
ชินวรณ์ บุญเกียรติ. (2554). "ชินวรณ์"ยอมรับคะแนนโอเน็ตต่ำ เหตุครูไม่ปรับวิธีสอน ยังเน้นท่องจำ.
ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2554 จาก http://www.kroobannok.com/42685
ชินภัทร ภูริทัต. (2554). สพฐ.คาดโทษ"โอเน็ต"ตกต่ำอีกต้องมีคนรับผิดชอบ. ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2554
จาก http://www.kroobannok.com/42817
ประเวศ วะสี (2554). การปฏิรูปรอบสอง . ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2554
จาก http://www.kroobannok.com/42878
สมเกียรติ ชอบผล. (2554). "สพฐ."แจงเหตุคะแนนโอเน็ตต่ำ เพราะการสอนไม่สอดคล้องข้อสอบ.
ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2554 จาก http://www.kroobannok.com/42686
สมพงษ์ จิตระดับ. (2554). "ยุบ สทศ. สมศ..." สมพงษ์ จิตระดับ ชำแหละนักเรียนสอบตกโอเน็ต "ยกสยาม"
ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2554 จาก http://www.kroobannok.com/42754
สัมพันธ์ พันธ์พฤกษ์. (2554) . สทศ.ไม่ปลื้ม! คะแนน O-NET ม.6 "คณิต-อังกฤษ" ตกรูด. ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2554
จาก http://www.kroobannok.com/42674
สมศ.(2553). รายงานประจำปี 2552. ค้นเมื่อ 13 เมษายน 2554
จาก http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/printing/index.php

การทำงานเป็นทีม

หลักการทำงานเป็นทีม

ถ้าคิดได้ ให้ช่วยคิด
หากคิดไม่ได้ ให้ช่วยทำ
แม้ทำไม่ได้ ขอให้ความร่วมมือ
หากความร่วมมือยังให้ไม่ได้ ขอให้กำลังใจ
หากแม้กำลังยังให้ไม่ได้ ขอจงสงบนิ่ง

ธรรมะ 2

ธรรมะ

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

บทความภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม

รองสุเทพ ปาลสาร


    ท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางจริยธรรม จึงอยากฝากให้อ่าน เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ตาม ลิงค์ ด้านล่างนี้นะครับ
          
                     รอง สุเทพ ปาลสาร

http://202.143.147.131/mediacenter/multimedia/2011-04-22-23-52-26ลำดับที่_16%20%20ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม%20.pdf